คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสาธารณะ “อวสานทีวีเด็กไทย! ยอมแพ้ หรือ ไปต่อ”

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จับมือกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสาธารณะ “อวสานทีวีเด็กไทย! ยอมแพ้ หรือ ไปต่อ”
www.Thainewsvision.com
ภาพ : พาฝัน ปิ่นทอง
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสาธารณะ “อวสานทีวีเด็กไทย! ยอมแพ้ หรือ ไปต่อ” เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับสื่อโทรทัศน์สำหรับเด็ก อันเป็นผลสืบเนื่องจากที่สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว ตัดสินใจยุติการออกอากาศ และคืนใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีโทรทัศน์ เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีอื่น ๆ ก็ให้พื้นที่แก่รายการเด็กเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ทั้งที่มีการสำรวจข้อมูลพบว่า เด็กไทยยังคงรับสื่อโทรทัศน์เป็นสื่อหลักอยู่IMG_2281 IMG_2285
ศาสตราจารย์ ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย ถือว่าเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงสำหรับเด็กและเยาวชนอย่างมาก เพราะทำให้ปริมาณของสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนมีน้อยลง ทั้งที่เด็กและเยาวชนอยู่ในวัยที่กำลังเรียนรู้ และต้องการสื่อที่ช่วยหล่อหลอม พัฒนาความรู้ ความคิด ค่านิยม ทัศนคติต่าง ๆ ทางคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จึงร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดเวทีสาธารณะในครั้งนี้ขึ้นเพื่อร่วมกันหาทางออกของสื่อโทรทัศน์ของเด็กและเยาวชน รวมถึงการขยายไปสู่พื้นที่สื่ออื่น ๆ สำหรับเด็กและเยาวชนต่อไปIMG_2300
ทางด้าน นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัวเป็นหลัก เนื่องจากเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมไทย ครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีมากที่ได้ร่วมมือกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อจุดประเด็นให้สังคมหันมาตระหนักถึงปัญหานี้ร่วมกัน
ในเวทีสาธารณะครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านเด็กและด้านสื่อมวลชน 5 ท่าน ประกอบด้วย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน)กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ คุณภัทรจารีย์ นักสร้างสรรค์ (น้านิต สโมสรผึ้งน้อย) คุณดวงรัชต์ แซ่จิว ตัวแทนผู้ปกครอง และ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านนโยบายสื่อ
รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม (องค์กรมหาชน)กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ได้แสดงความเห็นในส่วนของ สื่อเพื่อเด็ก สร้างสรรค์ สร้างคนสร้างชาติว่า ในทุกวันนี้เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่าถึงแม้จะมีโซเชียลมีเดียเข้ามาแทนที่สื่อต่างๆมากขึ้น แต่ด้วยระบบอะไรต่างๆ และการจัดการบอกได้เลยว่ายังไม่ชัดเจนและไม่เสถียรอย่างเต็มที่IMG_2364 เพราะฉะนั้นทีวีหรือโทรทัศน์ จึงยังเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะทำให้คนเข้าถึงสื่อต่างๆได้มากขึ้น ในตอนนี้ถึงแม้ว่าจะมีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อช่วยในเรื่องสื่อ แต่จุดเน้นในการพัฒนาเด็กในบ้านเราก็ยังไม่แข็งแรงพอ ขอยกตัวอย่างในต่างประเทศในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาจะมีช่องสำหรับเด็กในสัดส่วนที่ค่อนข้างมาก เพราะเขาต้องการที่จะพัฒนาบุคลากรตั้งแต่เด็ก ให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต แต่บ้านเรายังมีน้อยมาก และยังอยู่ในช่วงที่ไม่เหมาะสมด้วยซ้ำ อีกทั้งผู้ผลิตก็กังวลในเรื่องของสปอนเซอร์ และการวัดเรทติ้งทำให้มีข้อจำกัดของรายการIMG_2339IMG_2342IMG_2361IMG_2344
ผศ.ดร.มรรยาท อัครจันทโชติ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กเป็นรายการหนึ่งที่มีมาตั้งแต่แรกก่อตั้งสถานีโทรทัศน์ของไทย แต่กว่า 60 ปีที่ผ่านมา เส้นทางของรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กในเมืองไทย ไม่มียุคใดที่เป็นยุคทอง มีแต่ช่วงที่เสมอตัว และช่วงที่วิกฤติหนัก บางยุค แม้ดูเหมือนว่ามีโอกาสดีขึ้น เช่น ยุคที่มีการประกาศปีเด็กสากลIMG_2348 IMG_2349IMG_2354 ที่ทำให้เมืองไทยสนใจเรื่องสื่อสำหรับเด็กมากขึ้น หรือการมีระเบียบให้จัดช่วงเวลารายการสำหรับเด็ก รวมถึงการเกิดขึ้นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ปัจจุบัน จะมีประกาศของ กสทช. ให้สถานีโทรทัศน์ฟรีทีวีระบบดิจิตอลทุกช่องต้องมีรายการเด็กและครอบครัวทุกวัน อย่างน้อยวันละ 60 นาที แต่ในความเป็นจริง กลับไม่ใช่เช่นนั้น แม้แต่ในช่องทีวีหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัวเอง ก็ไม่สามารถมีพื้นที่ให้รายการเด็กของไทยมากอย่างที่หวัง ยิ่งเมื่อโทรทัศน์ต้องต่อสู้แข่งขันในทางธุรกิจที่สูงมาก รายการสำหรับเด็กจึงยิ่งมีสัดส่วนและพื้นที่น้อยลงเรื่อย ๆIMG_2365 IMG_2366
IMG_2367ทางด้านตัวแทนผู้ปกครอง คุณดวงรัตน์ แซ่จิว ซึ่งเป็นคุณแม่หนึ่งท่านได้ให้ความเห็นว่า ในมุมมองของผู้ปกครองหรือคนเป็นแม่ อย่างแรกเลยเราต้องการให้ลูกของเราเติบโตมาเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ อยากให้ลูกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี รวมไปถึงการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งเวลาว่างของเด็กในปัจจุบันนี้ก็คือการใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียต่างๆเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันนี้พบว่าสื่อทางช่องทางเหล่านี้ ไม่ได้มีการคัดกรองที่ดีเท่าที่ควร เด็กได้รับแต่ภาพที่มีความรุนแรง ทัศนคติที่ค่อนข้างเป็นลบ เพราะฉะนั้นเราคิดว่า การมีสื่อที่ดีสำหรับเด็กผ่านช่องทางโทรทัศน์ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะอย่างน้อยเด็กจะได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมไปถึงอยู่ในสายตาของผู้ปกครอง พร้อมทั้งการมีพัฒนาการที่ดีอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ ทำให้มองย้อนกลับไปถึงตัวเองIMG_2373IMG_2371 IMG_2370
IMG_2299สำหรับการจัดงานเวทีสาธารณะในครั้งนี้ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะทำให้คนในสังคมตระหนักถึงวิกฤติของสื่อเด็กในฐานะวาระสำคัญของชาติ และร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดการขยายพื้นที่สื่อสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริงในสังคมไทย

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »