พิชิตมะเร็งด้วยนวัตกรรม

พิชิตมะเร็งด้วยนวัตกรรม
www.Thainewsvision.com
ข่าว : พาฝัน ปิ่นทอง12248831_1001506813245959_472804884_n    จากการทุ่มเทของวงการแพทย์ทั่วโลกเพื่อวิจัยเกี่ยวกับโรคมะเร็ง ในแต่ละปีจึงมีข้อมูลใหม่มากมายที่จะช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุ รู้วิธีป้องกัน และมีหนทางใหม่ในการรักษา ซึ่งได้ผลมากขึ้น และมีผลข้างเคียงที่เป็นพิษน้อยลง12242239_1001506866579287_2146809194_n

ดังนั้นทางชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง ได้กำหนดจัดงานพิชิตมะเร็งด้วยนวัตกรรม (Innovations in CANCER Treatment) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับนวัตกรรมการรักษามะเร็ง โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.นรินทร์ วรวุฒิ แพทย์ประจำหน่วยมะเร็งวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์12243634_1001506796579294_674923554_n ให้ข้อมูลกล่าวว่า “มะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อนนักวิจัยต้องเข้าใจลึกซึ้งถึงพันธุศาสตร์ของมะเร็ง ด้วยความรู้เหล่านี้การขจัดมะเร็งด้วยวิธีเดิมอันได้แก่ ฉายรังสี ผ่าตัด และเคมีบำบัด ได้ค่อยๆ นำเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้ามาใช้ โดยการรักษาแบบมุ่งเป้าเริ่มได้รับความนิยมตั้งแต่ปลาย 1990 จนถึงต้นยุค 200012233490_1001506766579297_199954549_n อาทิ การใช้ยาเพื่อยับยั้งหลอดเลือดเลี้ยงมะเร็ง แต่ต่อมานักวิจัยพบว่า การฉายรังสีและเคมีบำบัดแบบมุ่งเพียงเป้าหมายเดียว ไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ป่วยทุกคน เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีปัจจัยแวดล้อมของโรคมะเร็งต่างกัน พูดอีกอย่างคือ ผู้ป่วยแต่ละคนมีหลายเป้าหมายที่ต้องจัดการ”12272567_1001506793245961_4947676_nแนวคิดในการวิเคราะห์เนื้องอกของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อกำหนดการให้ยาที่ทำงานได้ดีที่สุด จึงเป็นการแพทย์ส่วนบุคคลที่มีความเป็นไปได้ในการพิชิตมะเร็ง นอกจากนี้ วงการแพทย์ยังยกระดับความจำเพาะให้เป็นการรักษาที่มีศักยภาพพร้อมกับการลดผลข้างเคียงที่เป็นพิษให้น้อยลง 12243969_1001506726579301_622494710_nโดยเมื่อเป็นมะเร็ง การแพทย์ส่วนบุคคลสามารถใช้รูปแบบที่หลากหลายเพื่อจัดการกับมะเร็ง ได้แก่ ทดสอบเซลล์มะเร็งของผู้ป่วยเพื่อหาการรักษาที่เหมาะสม ทดสอบทางพันธุศาสตร์เพื่อตัดสินใจว่าผู้ป่วยสามารถใช้ยาที่จำเพาะเจาะจงได้หรือไม่ นอกจากนี้ สามารถจัดการก่อนเป็นมะเร็งในกลุ่มเสี่ยง โดยทดสอบทางพันธุศาสตร์เพื่อตรวจสอบว่า มีโอกาสการกลายพันธุ์ของเซลล์แล้วพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่ 12272710_1001506899912617_421776425_n

เมื่อสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ชัดเจนว่าผู้ป่วยจะมีการตอบสนองต่อยาอย่างไร ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสรับยาที่เหมาะสมมากขึ้น ประสิทธิภาพการรักษาก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่าย ย่นระยะเวลาในการดูแลสุขภาพ รวมถึงลดอาการข้างเคียงจากยา12272742_1001506749912632_2049309162_n

นอกจากนี้ การแพทย์ส่วนบุคคลยังสามารถจัดการก่อนเป็นมะเร็งในกลุ่มเสี่ยง โดยทดสอบทางพันธุศาสตร์เพื่อตรวจสอบว่า มีโอกาสการกลายพันธุ์ของเซลล์แล้วพัฒนาไปเป็นมะเร็งได้หรือไม่ ถ้าพบก็จัดการเสียก่อนเป็นมะเร็ง ด้านการดูแลผู้ป่วย ปัจจัยด้านโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญ ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นักกำหนดอาหารที่ปรึกษาในหลายโรงพยาบาลชั้นนำ 12277333_1001506803245960_455543418_nได้อธิบายว่า “ผู้ป่วยควรได้รับการกำหนดอาหารให้ตรงกับความจำเป็นของร่างกายแต่ละคน ควรต้องเรียนรู้ปัจจัยด้านอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพ อาทิ ทำไมน้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงมะเร็ง แล้วผู้ป่วยจะทำอย่างไร ผักผลไม้ต่างๆ วิตามิน เกลือแร่ สมุนไพร กรดไขมัน สารสกัดจากอาหาร อะไรบ้างที่จะช่วยผู้ป่วยมะเร็งได้จริงๆ นอกจากนี้ ทำอย่างไรให้อาหารเป็นพิษกับมะเร็ง แต่เป็นมิตรกับผู้ป่วยการค้นพบว่า มีสารหลายอย่างในอาหารที่สามารถป้องกันมะเร็งได้ และพบแล้วว่าอะไรที่จะเข้าไปกระตุ้นมะเร็ง อาทิ น้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงมะเร็ง การอักเสบกระตุ้นมะเร็งให้ดุร้ายขึ้น ผู้ป่วยจึงควรงดอาหารที่กระตุ้นการอักเสบ ได้แก่ ไขมัน ทรานซ์ซึ่งมักใช้ในอาหารฟาสฟู้ด เนื้อแดง อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เป็นต้น โดยควรบริโภคอาหารต้านการอักเสบ ได้แก่ กรดไขมันโอเมก้า 3 อาทิ น้ำมันปลา ปลาทู ธัญพืช เป็นต้น

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »