ม.รังสิตโครงการ “นวัตกรรมนาข้าว ชาวนาอัจฉริยะ” ห้ชาวนาพึ่งตนองอย่างครบวงจร

มหาวิทยาลัยรังสิตคัดเลือกชุมชนหนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี นำร่องเข้าร่วมโครงการ “นวัตกรรมนาข้าว ชาวนาอัจฉริยะ” บูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตรให้ชาวนาพึ่งตนองอย่างครบวงจร11855864_1738515563042273_2196729337561766656_n

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยรังสิตได้ นำร่องเปิดโครงการ “นวัตกรรมนาข้าว ชาวนาอัจฉริยะ” มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้ชาวนาสามารถพึ่งพาตนเองได้ในรูปแบบสังคมสวัสดิการและการเกษตรแบบครบวงจร11880660_1469762120014028_3440079321940475176_n โดยมอบหมายให้วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ ดูแลเรื่องการจัดสร้างโรงเรือน ติดตั้งเครื่องอบลดความชื้น เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุภัณฑ์ และคณะบริหารธุรกิจ ให้คําปรึกษาด้านการตลาดและช่องทางการจัดจําหน่าย เพื่อยกระดับฐานะของชาวนา โดยร่วมกับกลุ่มชมรมทํานาตําบลหนองสาหร่ายสร้างโรงสีข้าวครบวงจร โดยมหาวิทยาลัยรังสิตสนับสนุนด้านการบริการวิชาการและการลงทุนเบื้องต้น รวมทั้งจัดทําแผนสวัสดิการของกลุ่มชาวนาเพื่อบริหารจัดการผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมและการผ่อนชําระเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการเป็นเจ้าของร่วมกันของชุมชน11885161_1738516303042199_2546801253979715877_nดังนั้นทางศูนย์วิจัยฯ ได้จัดกลุ่มเกษตรกรตามกลุ่มพื้นที่เพาะปลูกที่ยังคงเป็นวิธีการเดิมของชาวนาจากพื้นที่นารวม 236 ไร่ โดยให้เกษตรกรปลูกข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 (ข้าวหอมปทุม) ด้วยวิธีการปักดำ 107 ไร่ และวิธีการหว่านจำนวน 11219022_1469762303347343_7339470057181447771_n129 ไร่ โดยมีนักวิชาการคอยติดตามและบันทึกข้อมูลการปลูกข้าวของเกษตรกร ตั้งแต่การเตรียมแปลงนา การหว่าน ปักดำ การดูแลจัดการแปลงนารวมทั้งให้คำแนะนำปรึกษาในเรื่องต่างๆ แก่เกษตรกร จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเน้นที่นาอินทรีย์ปลอดสารพิษซึ่งหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วจะนำเข้าสู่กระบวนการอบลดความชื้น (ประมาณ 14%)และเข้าสู่กระบวนการสีข้าวต่อไปจากการลงพื้นที่ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นเลยว่าโครงการดังกล่าวสามารถ11866446_1738516413042188_3098205754152696859_nส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ จากเดิมเกษตรกรจะได้ผลผลิตข้าว 700 กก./ไร่ แต่หลังจากที่ทางศูนย์ฯ ได้เผยแพร่วิชาความรู้ร่วมกันกับชุมชน เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 1,300 กก./ไร่ ซึ่งถือว่าเราบูรณาการวิชาความรู้สู่ชุมชนได้เต็มประสิทธิภาพ  ในปีที่ผ่านมาเกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตข้าวเปลือกได้ 200 ตัน สีเป็นข้าวสารพร้อมจำหน่วย 90 ตัน ส่วนที่เหลือ 45-48 % เป็นรำ ปลายข้าว และแกลบ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจำหน่วยข้าวให้แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไปแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook.com/ทิพย์อรุณ

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »