ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว พัฒนาข้าวพันธุ์สรรพสี ภายใต้กระบวนการอาบรังสีด้วย Fast Neutronพร้อมทำการสร้างห้องสมุดข้าวกลายพันธุ์จำนวนมากกว่า 20,000 สายพันธุ์

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว พัฒนาข้าวพันธุ์สรรพสี ภายใต้กระบวนการอาบรังสีด้วย Fast Neutronพร้อมทำการสร้างห้องสมุดข้าวกลายพันธุ์จำนวนมากกว่า 20,000 สายพันธุ์
www.Thainewsvision.com
วิณิชชา  ปิ่นทอง82072316_1569495049857937_4414932312467177472_nสืบเนื่องจากข่าวในโลกออนไลน์ ได้มีการนำเสนอข่าว มีการค้นพบข้าวพันธ์ุสีชมพู ที่จังหวัดพิษณุโลก และมีการสันนิฐานว่าเป็นพันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่กลายพันธุ์ 82075103_483300615935540_1699640158141284352_nดังนั้นทางศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ภาควิชาพืชไร่ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรกำแพงแสน นำโดยศ.ดร.อภิชาติ วรรณวิจตร ผู้อำนวยการศูนย์ ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง ไม่ใช้เป็นการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ หากแต่ว่าเป็นข้าวพันธุ์สรรพสี ที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวพัฒนาขึ้นมา ข้าวที่สวยงามเหล่านี้มาจากศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว และหน่วยค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ได้ใช้กระบวนการอาบรังสีด้วย Fast Neutron มาตั้งแต่ปี 2552 82048373_454854558516283_9106172476815048704_nโดยใช้ข้าวเจ้าหอมนิลจำนวน 1แสน เมล็ด และทำการสร้างห้องสมุด ข้าวกลายพันธุ์ จำนวนมากกว่า 20,000 สายพันธุ์ ที่ค่อนข้างนิ่งเอาไว้ในระหว่างนั้นก็ไม่พบข้าวใบสีม่วง-ชมพูแต่อย่างใด แต่พบการเกิดใบขาวขีดตามยาวแทรกตัวอยู่ระหว่างเส้นใบสลับสีเขียวและได้แยกออกมา จนสม่ำเสมอให้ชื่อว่า เจ้าหอมนิลลายคาดขาว นักปรับปรุงพันธุ์ของเราได้นำเอาข้าวเจ้าหอมนิลลายคาดขาวไปผสมพันธุ์ กับ ข้าวใบสีม่วงทั้งต้น คือ ข้าวก่ำหอมนิล ซึ่งเป็นลูกผสมของ ข้าวก่ำดอยสะเก็ดและข้าวเจ้าหอมนิล มาตั้งแต่ปี 2549 ทำการคัดเลือกรูปลักษณ์ เฉดสี รูปแบบ และทรงใบ ให้เหมาะสมกับการใช้ประดับ และตั้งชื่อว่า “ข้าวสรรพสี” 82231266_2617279365218207_2768627629438271488_n82408708_603730757053758_8807146880753467392_n 82400320_881909498891434_6616128048376840192_n
ในระยะแรกได้พัฒนาสายพันธุ์นิ่งแล้วจำนวน 5 สายพันธุ์ในปี 2556 สายพันธุ์ของข้าวสรรพสี มีลักษณะ ใบสีม่วง ชมพู ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวจึงเชื่อว่าข้าวใบสีม่วง ชมพู ที่พบในแปลงข้าวไรซ์เบอร์รี่ นั้นเกิดจากการปนของข้าวสรรพสี ไม่ใช่การกลายพันธุ์ตามธรรมชาติ เพราะไม่เคยมีปรากฏว่าพบข้าวสีม่วง ชมพู ที่ไหนในโลกมาก่อน แม้จากข้าวก่ำพื้นเมืองที่มีสีม่วงเข้มทั้งต้นก็ไม่เคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้82231266_2617279365218207_2768627629438271488_n82524816_2664822820298349_1498924147282018304_nดังนั้นในมุมมองของความเป็นเจ้าของสายพันธุ์นั้น ผู้ค้นพบอาจขอคำแนะนำจาก สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ซึ่งดูแลเข้าถึงพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชใหม่ รวมทั้ง กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ก่อนจะทำการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ได้อย่างถูกกฎหมายต่อไป

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »