สรุปผลปฏิบัติการ7วันของทีมแพทย์ชนบทExecutive Summary ปฏิบัติการกู้ภัยโควิด 19 กทม.และปริมณฑล ครั้งที่ 3 (4-10 ส.ค.2564)

สรุปผลปฏิบัติการ7วันของทีมแพทย์ชนบทExecutive Summary ปฏิบัติการกู้ภัยโควิด 19 กทม.และปริมณฑล ครั้งที่ 3 (4-10 ส.ค.2564)FB_IMG_1628778714880

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึงขั้นวิกฤติครั้งนี้
ทีม CCRT (Comprehensive COVID-19 Response Team) ซึ่งเป็นความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข สปสช. สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร​ ชมรมแพทย์ชนบทและทุกเครือข่ายภาคประชาชน จึงได้มีภารกิจกู้ภัยโควิด 19 ครั้งที่3 เชิงรุก ในพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ และ
ปริมณฑลขึ้น โดยได้ดำเนินการมาแล้ว จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ดำเนินการระหว่างวันที่ 14-16 กรกฎาคม
2564 และ
ครั้งที่ 2 วันที่ 21–23 กรกฎาคม 2564 โดยปฏิบัติการ
ครั้งที่ 3 นี้ มีขึ้นระหว่างวันที่ 4–10 สิงหาคม 2564 มีทีมร่วมปฏิบัติการจำนวน 41 ทีม รวมผู้ปฏิบัติงานทั้งสิ้นประมาณ 400 คน แต่ละทีมประกอบด้วย แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล และสหสาขาวิชาชีพในการช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ โดยมีภารกิจในการดำเนินการ 4 ภารกิจหลัก ประกอบด้วย 1. Rapid Testing โดยการใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ซึ่งทราบผลการตรวจได้ภายใน 30 นาที
2 Rapid Tracing เป็นภารกิจติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในชุมชนมาเข้ารับการตรวจเพิ่มเติม
3. Rapid Treatment เป็นการให้การรักษาทันที กรณีที่ ATK ให้ผลบวก โดยการประเมินระดับความรุนแรง (onsite triage) โดยแพทย์ และได้รับยา Favipiravir หรือ ยาฟ้าทะลายโจร
4. Rapid Target Vaccination โดยการฉีดวัคซีนทันทีในรายที่มีผลตรวจเป็นลบ และให้บริการฉีดวัคซีนในกลุ่มเสี่ยง
ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 7 โรคเรื้อรัง และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และมีการปฏิบัติการเชิงรุก ไปดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเปราะบางที่บ้าน เช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติในภาพรวมดังนี้ ลงทะเบียนผ่านระบบ CRMHI ผู้รับบริการรายใดที่มีผล ATK เป็นลบ จะได้รับการฉีดวัคซีน และได้รับบัตรบันทึกการรับวัคซีนรวมถึงบันทึกชื่อเข้าสู่ระบบการได้รับวัคซีนและนัดรับบริการวัคซีนครั้งต่อไป ส่วนผู้รับบริการที่ผล ATK เป็นบวก จะส่งตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR และ
เข้าสู่ขั้นตอนการตรวจโดยแพทย์เพื่อรับยา และถูกจัดเป็นผู้ป่วยสีเขียว เหลือง และแดง เพื่อพิจารณาเข้าสู่กระบวนการรักษาตามอาการรวมถึงการเข้าสู่การรักษาผ่านระบบ Home Isolation (HI)
ผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 4-10 สิงหาคม 2564 พบว่า มีผู้เข้ารับการตรวจ ATK จำนวน145,566 คน มีผลบวก จำนวน 16,186 คน คิดเป็นอัตราการติดเชื้อ ร้อยละ 11.1 ส่งตรวจ RT-PCR จำนวน15,562 คน คิดเป็นร้อยละ 96.1 เป็นผู้ป่วยสีแดง จำนวน 331 คน คิดเป็นร้อยละ 2.0 สีเหลือง 4,639 คน คิดเป็นร้อยละ 28.7 และผู้ป่วยสีเขียว จำนวน 11,216 คน คิดเป็นร้อยละ 69.3 มีผู้ป่วยรับยา Favipiravir จำนวน9,343 คน คิดเป็นร้อยละ 57.7 ของผู้ที่มี ATK เป็นบวก รวมยา Favipiravir ที่จ่ายไป จำนวน 467,150 เม็ด
และรับยาฟ้าทะลายโจร จำนวน 3,614 คน คิดเป็นร้อยละ 22.3 ของผู้ที่มีผล ATK เป็นบวก และมีผู้ได้รับบริการฉีดวัคซีน จำนวน 7,761 คน โดยผลการตรวจยืนยันด้วยวิธีRT-PCR ได้ผลบวกจริง (True Positive)ร้อยละ 99.42 และได้ผลบวกลวง (False Positive) เพียงร้อยละ 0.58
เมื่อเปรียบเทียบผลการตรวจที่เป็น ATK Positive ในการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า การดำเนินงาน
ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 ให้ผล ATK Positive ร้อยละ 9.0, 16.1 และ 11.1 ตามลำดับ แสดงถึงอัตราการติดเชื้อในชุมชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วงความร่วมมือของกระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพมหานคร และภาคประชาสังคม ในการควบคุมสถานการณ์การระบาดในพื้นที่นี้เป็นไปได้จริงมากยิ่งขึ้น​ ทั้งนี้การดำเนินการด้วยแนวคิดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เร็วนี้ยังคงมีต่อไป แต่การระดมกำลังจากภูมิภาคมาช่วยกันเช่นนี้จะมีอีกหรือไม่นั้น จะมีการพิจารณากันอีกครั้งจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »