อีจีเอจับมือเอ็นไอเอ ผลัก MEGA 2017 สร้างเศรษฐกิจเชิงข้อมูล ดันสตาร์ทอัพไทยใช้ข้อมูลภาครัฐสร้างแอปบริการประชาชน

อีจีเอจับมือเอ็นไอเอ ผลัก MEGA 2017 สร้างเศรษฐกิจเชิงข้อมูล ดันสตาร์ทอัพไทยใช้ข้อมูลภาครัฐสร้างแอปบริการประชาชน พฤหัส 027      ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) หรือ EGA (อีจีเอ) เปิดเผยว่าโครงการประกวดผลงานนวัตกรรมการพัฒนาโมบายโซลูชันภาครัฐ ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2560” หรือ Mobile Enterprise d-Government Award 2017 : MEGA 2017” พฤหัส 032ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ EGA ได้จัดร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ด้วยแนวคิดหรือ Theme หลักคือ Data Economy ที่เป็นการจัดสรรระบบข้อมูลภาครัฐเพื่อพัฒนาเป็นระบบเศรษฐกิจใหม่ ที่จะขับเคลื่อนทั้งภาครัฐและเอกชนไปด้วยกันพฤหัส 051     โครงการMEGA 2017 ปีนี้ ยังคงจัดประเภทการประกวดเป็น 2ประเภทเช่นเดียวกับปีก่อนหน้า คือ ประเภทนักศึกษา (Idea Student) และประเภทผู้ประกอบการ (Accelerator) สำหรับผู้ประกอบการจะเป็นการนำเสนอผลงาน หรือ นวัตกรรม ที่กำลังพัฒนา หรือพัฒนาสำเร็จแล้วพฤหัส 069 และนำมาแสดงต่อคณะกรรมการในรูปแบบของ Prototype/MVP ที่สามารถนำไปสร้าง Business Model ได้จริง นอกจากนี้ ทั้ง 2 ประเภท ผู้ประกวดสามารถนำชุดข้อมูลในรูปแบบของ Open Government Data ใน data.go.th มาพัฒนาเป็นผลงานในการประกวดได้ และสำหรับปีนี้ทาง EGA จะเตรียมข้อมูล Open Data ของภาครัฐในรูปแบบ KDIไว้ให้ใช้งานสำหรับในบางหมวดด้วยซึ่งจะให้ใช้เฉพาะกลุ่มผู้เข้าประกวดระดับผู้ประกอบการก่อน เนื่องจากยังถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการซอฟต์แวร์ภาครัฐพฤหัส 074     ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า MEGA 2017 ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่ NIA ได้ร่วมกันจัดงานกับ EGA การประกวดครั้งนี้ NIA จะมีส่วนร่วมในการเข้ามาสนับสนุนกลุ่มผู้ประกอบการเป็นหลัก โดยเฉพาะผู้เข้าประกวดต้องนำเสนอความคิดและไอเดียสู่ความเป็นนวัตกรรมที่มีรูปแบบของแผนธุรกิจที่สามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ที่แท้จริงพฤหัส 037โดยครอบคลุมประเด็นทางเทคโนโลยี การเงิน การตลาด และความสามารถของทีม ซึ่งอาจเป็นโครงการที่พัฒนามาแล้วในระดับห้องปฏิบัติการวิจัยให้มาสู่การปฏิบัติการระดับอุตสาหกรรมในเชิงพาณิชย์ หรืออาจอยู่ในขั้นตอนของการทำต้นแบบ (Prototype) รูปแบบทดลอง (Experimental units)พฤหัส 038การทดสอบในระดับนำร่อง (Pilot Scale) เพื่อยืนยันความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีก่อนจะนำไปสู่การผลิตจริง โรงงานนำร่อง (Pilot Plant) การปฏิบัติการก่อนเป็นเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ (Pre-Commercial) ตลอดจนการทดสอบในกระบวนการผลิตจริง (Full Scale Trial)พฤหัส 040 เมื่อผ่านเข้ารอบจึงพัฒนาเป็น Prototype และ Demo/MVP ที่สามารถนำไปสร้าง Business Model ได้จริงต่อไป และนำมาแสดงต่อคณะกรรมการในรูปแบบของ Demo/MVP ที่พร้อมต่อการพัฒนาต่อยอดพฤหัส 039  ส่วนหัวข้อการประกวดของผู้ประกอบการจะแบ่งเป็น 3 หมวดหลักที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of innovation : EECi) ได้แก่ การขนส่งและการเดินทาง (Logistic / Transport)พฤหัส 020, เมืองน่าอยู่ (Waste / Safety / Urban / Security / Sanitary), การเข้าถึงบริการภาครัฐ (Public Service Accessibility / Health Tech) โดยในส่วนการเข้าถึงบริการภาครัฐ จะมีอีก 2 หมวดย่อยพิเศษ คือ Chatbot และ Traffic / Queue / Resource Management เป็นต้นพฤหัส 022โครงการนี้จึงถือเป็นอีกโครงการหนึ่งที่ NIA ตั้งเป้าหมายที่จะสร้าง Data Economy ร่วมกับ EGA และคาดหวังให้เกิดผลผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างผลงานชนะเลิศการประกวดเท่านั้นพฤหัส 033 ยังเป็นโครงการที่สอดคล้องและนำไปต่อยอดกับโครงการย่านนวัตกรรม (Innovation District)ในพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of innovation : EECi) ที่ NIA และ EGA ร่วมมือกันขับเคลื่อนย่านมาก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม วิสาหกิจเริ่มต้น ภายในย่านนวัตกรรม  โดยกำหนดวางผังย่านและจัดทำแผนพัฒนาในปีงบประมาณ 2560 นี้

 

 

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »