เอทีไอ เทคโนโลยีส์ ส่ง “เจ้าเอี้ยง” โดรนเกษตรอัจฉริยะ ยกระดับภาคเกษตรกรรมไทย พร้อมวางจำหน่ายไตรมาสแรกปี 2564 ด้วยโปรโมชั่นเปิดตัว “โดรน-โดนใจ!!” ในราคาเริ่มต้น 1.98 แสนบาท

เอทีไอ เทคโนโลยีส์ ส่ง “เจ้าเอี้ยง” โดรนเกษตรอัจฉริยะ ยกระดับภาคเกษตรกรรมไทย พร้อมวางจำหน่ายไตรมาสแรกปี 2564 ด้วยโปรโมชั่นเปิดตัว “โดรน-โดนใจ!!” ในราคาเริ่มต้น 1.98 แสนบาท
www.Thainewsvision.comIMG_7804
เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จัดสาธิตการทดสอบโดรน ภายใต้แบรนด์ “เจ้าเอี้ยง” โดรนเกษตรสัญชาติไทย ออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์โดยคนไทย มุ่งเสริมประสิทธิภาพ ยกระดับผลผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนพัฒนาองค์รวมภาคเกษตรกรรมของไทยIMG_7801IMG_7807
ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า “ภาคเกษตรกรรมนับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในฐานะเศรษฐกิจฐานรากที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เอทีไอจึงมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรนเพื่อใช้ในการเกษตรอัจฉริยะ โดยได้นำความรู้และประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ มาพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อการเกษตรที่ใช้กับโดรนเจ้าเอี้ยง ซึ่งเน้นความเป็นโดรนเกษตรของคนไทย เพื่อคนไทยอย่างแท้จริง IMG_7818 IMG_7814IMG_7835โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบด้วยหลักวิศวกรรมที่เหมาะสมกับการใช้งานจริงในประเทศไทย มีเมนูภาษาไทยรองรับ และในส่วนของซอฟต์แวร์ระบบประมวลผล เช่น ข้อมูลผู้ใช้ (User Data) ข้อมูลการบิน (Flight Path) ข้อมูลการใช้งาน และข้อมูลฉีดพ่น (Data Usage) รวมถึงข้อมูลอื่นๆ จะได้รับการเก็บไว้ออนไลน์บนระบบคลาวด์ Cloud Service ที่อยู่ในประเทศไทย จึงช่วยทดแทนการใช้ซอฟต์แวร์โดรนที่ออกแบบโดยบริษัทจากต่างประเทศ ข้อมูลจึงไม่รั่วไหลออกนอกประเทศIMG_7825 IMG_7826 IMG_7829 IMG_7830 IMG_7833IMG_7840 IMG_7837 IMG_7836IMG_7823
โดรนเพื่อการเกษตร “เจ้าเอี้ยง” เป็นโดรนอัจฉริยะชนิด 4 ก้านใบพัดและ 4 หัวฉีด ควบคุมการบินด้วยระบบอัตโนมัติพร้อมรีโมทแบบจอสัมผัส สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุพื้นที่ที่ควรใส่ปุ๋ย และทำการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำได้อย่างสม่ำเสมอ แม่นยำ และทั่วถึง จึงช่วยให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่าย ประหยัดเวลาการทำงาน และเพิ่มความปลอดภัยโดยไม่ต้องสัมผัสสารเคมีโดยตรง นอกจากนี้ยังสามารถเก็บภาพและประมวลผลข้อมูลเพื่อพยากรณ์และแบ่งเกรดผลผลิต ทำให้วางแผนการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นIMG_7799 IMG_7789
โดยในอนาคต เอทีไอยังตั้งเป้าหมายที่จะเป็นตัวกลางในการนำข้อมูลที่จัดเก็บได้ ส่งต่อให้กับภาครัฐเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ต่อยอด และวางแผนเพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรของไทย และเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทยได้อย่างครบวงจร”IMG_7857 IMG_7858IMG_7856IMG_7864
นายภานุมาส แสนทวี ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอทีไอ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า “ปัจจุบันตลาดโดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยมีแนวโน้มที่เติบโตขึ้น และมีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะกับระบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งเป็นการทำการเกษตรรูปแบบใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยตั้งแต่กระบวนการฉีดพ่น ปุ๋ยน้ำ และกำจัดศัตรูพืชIMG_7865IMG_7866
IMG_7868

IMG_7888 IMG_7887 IMG_7886 IMG_7885รวมถึงการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ประมวลผลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแปลงเกษตร เอทีไอจึงได้นำความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจโดรน มาพัฒนาขึ้นเป็น ‘โดรนเจ้าเอี้ยง’ ที่เน้นความใส่ใจในทุกรายละเอียดตั้งแต่การผลิตจนถึงขั้นตอนของการใช้งาน เพื่อส่งมอบโดรนเกษตรคุณภาพให้กับเกษตรกรของไทย อาทิ การเลือกใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล การเลือกใช้สีของตัวโดรนซึ่งเป็นสีส้ม ที่มีการวิจัยว่าสามารถช่วยในการมองเห็นได้ในระยะที่ไกลที่สุด (Line of Sight) รวมถึง คุณสมบัติเด่นของโดรนเจ้าเอี้ยงกับฟังก์ชั่นการควบคุมโดรนให้ทำงานพร้อมกันได้หลายตัวโดยใช้ผู้บังคับเพียงคนเดียว ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้แรงงานคนได้อย่างมีประสิทธิภาพIMG_7898 IMG_7899
เอทีไอมุ่งหวังให้โดรนเจ้าเอี้ยงเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเกษตรกร ที่จะช่วยลดต้นทุนควบคู่ไปกับการเพิ่มผลผลิต ซึ่งเป็นหัวใจของการทำเกษตรกรรม ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย ตลอดจนการพัฒนาองค์รวมภาคเกษตรกรรมของไทยในอนาคต” IMG_7849 IMG_7850IMG_7853IMG_7854โดรนเพื่อการเกษตร “เจ้าเอี้ยง” กำหนดวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสแรกปี 2564 และเพื่อเป็นการต้อนรับเจ้าเอี้ยงสู่แปลงเกษตร เอทีไอจึงได้จัดโปรโมชันเปิดตัว “โดรน-โดนใจ!!” ในราคาเริ่มต้น 1.98 แสนบาท พร้อมข้อเสนอสุดพิเศษสำหรับผู้สั่งจองเจ้าเอี้ยง 30 ท่านแรก สอบถามข้อมูลได้แล้ววันนี้ที่ 02-950-5005 ติดตามความเคลื่อนไหวของโดรนเจ้าเอี้ยงได้ทาง www.aiangdrone.com และ facebook.com/aiangdrone

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »