แพทย์ มธ. เผยโรคหัวใจครองแชมป์ ตายอันดับ 1 ทั่วโลก ! แนะวิทยาการใหม่ High sensitivity cardiac troponin T วินิจฉัยไว เร่งรักษา ลดอัตราการเสียชีวิต

แพทย์ มธ. เผยโรคหัวใจครองแชมป์ ตายอันดับ 1 ทั่วโลก !
แนะวิทยาการใหม่ High sensitivity cardiac troponin T
วินิจฉัยไว เร่งรักษา ลดอัตราการเสียชีวิต
www.Thainewsvision.com
ข่าว-ภาพ พาฝัน ปิ่นทองIMG_2838
ผศ.นพ.พิสิษฐ หุตะยานนท์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เฉพาะในประเทศไทยIMG_2758IMG_2765 IMG_2768ในปี 2560 พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนกว่า 8 หมื่นรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมากกว่า 2 หมื่นรายที่เสียชีวิตจากภาวะโรคหัวใจขาดเลือด (ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติ และข้อมูลจากสำนักโรคไม่ติดต่อ) และด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่มีจำนวนมาก ก่อให้เกิดปัญหาสถานการณ์ความแออัดของห้องฉุกเฉิน ซึ่งเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขIMG_2776 IMG_2778 IMG_2781 IMG_2784 IMG_2789 IMG_2792
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจที่เข้ารับการตรวจรักษาในโรงพยาบาลนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่เข้ารับการตรวจแบบทั่วไป และกลุ่มที่เข้ารับการตรวจแบบฉุกเฉิน การตรวจวินิจฉัย ดูแล และรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจเหล่านี้ แพทย์จะใช้ protocol ที่เป็นแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยซึ่งได้รับการพัฒนา จะเป็นการตรวจวัดสารบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจแบบ high sensitivity cardiac troponin T ที่ให้ผลการตรวจวัดอย่างละเอียดและมีความแม่นยำ สามารถนำมาใช้กับ แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ 0 และ 1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการวินิจฉัยผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันที่ส่งผลให้เกิดลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจตายดังกล่าว จากเดิมที่ต้องรอการแปลผลการเปลี่ยนแปลงของสารบ่งชี้โรคหัวใจ 3-6 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น ก็ลดลงเป็นที่ 1 ชั่วโมงIMG_2801 IMG_2800 IMG_2796 IMG_2793
ด้าน รศ.นพ.วินชนะ ศรีวิไลทนต์ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระ เกียรติ กล่าวว่า ปัญหาที่พบได้ในห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ก็คือการมีผู้ป่วยมารับการรักษาเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยต้องรอที่ห้องฉุกเฉินเพื่อรับการวินิจฉัย ดูแล และรักษา เป็นเวลานาน สาเหตุมักมาจากจำนวนเตียงภายในหอผู้ป่วยที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย ปัญหานี้เราเรียกว่า Emergency Department Overcrowding IMG_2824 IMG_2816 IMG_2803ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บเค้นบริเวณหน้าอกถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการมีภาวะการตายของกล้ามเนื้อหัวใจ การได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็วจึงมีความสำคัญมาก ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ ที่ห้องฉุกเฉินโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคหัวใจและต้องรอที่ห้องฉุกเฉินเป็นเวลานานนั้น มักพบผลลัพธ์ที่ไม่ดีในการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่อยู่ในห้องฉุกเฉินภายในระยะเวลาที่สั้นกว่าIMG_2827
สำหรับการตรวจวัดสารบ่งชี้ภาวะโรคหัวใจแบบ high sensitivity cardiac troponin T ที่มีความไวสูง สามารถช่วยแพทย์ตรวจพบความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจที่จะเกิดขึ้นแม้เพียงเล็กน้อย การ นำแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่สงสัย ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแบบ 0 และ 1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) มาปรับใช้สำหรับ ผู้ป่วยที่สงสัยภาวะโรคหัวใจในห้องฉุกเฉินนั้น สามารถช่วยแพทย์ในการพิจารณา rule-out หรือคัดผู้ป่วย ที่มีความเสี่ยงระดับต่ำ (low risk) ออกจากการสงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้ซึ่งเชื่อว่า น่าจะตอบปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องฉุกเฉิน นั่นคือผู้ป่วยที่นอนรอที่ห้องฉุกเฉินนานเกินไปจะได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็วขึ้น แพทย์จะสามารถพิจารณาในระยะเวลาที่สั้นลงว่า เมื่อใช้แนวทางแบบ 0 และ 1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) แล้วไม่พบความเปลี่ยนแปลงของระดับ high sensitivity cardiac troponin T รวมทั้งประเมินความเสี่ยงแล้วผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย หรือกรณีผลการตรวจ high sensitivity cardiac troponin T มีการเปลี่ยนแปลงสูงเกินค่า cut-point ของแนวทางแบบ 0 และ 1 ชั่วโมง (0h/1h algorithm) อย่างชัดเจน ผู้ป่วยก็จะได้รับการเริ่มต้นการรักษาอย่างรวดเร็ว หรือมีความจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ลดอัตราการเสียชีวิต และลดปัญหา สถานการณ์ความแออัดภายในห้องฉุกเฉิน อันนำไปสู่ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแพทย์และเจ้าหน้าที่ ห้องฉุกเฉินต่อไป

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »