โครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” ละครเสริมสร้างสรรค์จินตนาการและการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวอย่างยั่งยืน

โครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” ละครเสริมสร้างสรรค์จินตนาการและการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวอย่างยั่งยืน
www.Thainewsvision.comเมื่อวันอาทิตย์ที่19พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ณ หอประชุม โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร นางสาวเพชรรัตน์ มณีนุษย์ หัวหน้าโครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” พร้อมด้วยคุณประสงค์ สุบรรณพงษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ กรุงเทพมหานครกล่าวต้อนรับประธานในพิธีโดยมีคุณพิสิฐ พูลพิพัฒน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประธานในพิธี ทั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณวิจิตา รชตะนันทิกุล คณะทำงานติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมตามสัญญาให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประจำปี 2566 ร่วมงานครั้งนี้ด้วยในปัจจุบันมีสื่อการเรียนการสอนที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กพิการทางการเห็นอย่างจำนวนจำกัด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการสร้างนวัตกรรมหรือโมเดลรูปแบบที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเด็กพิการทางการเห็น การสอนผ่านละครเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ผู้ปกครองและครูผู้สอน สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้กับทุกวิชาการสร้างละครเพื่อเด็กพิการทางการเห็นในการโครงการ ”จินตนาการเสรี สื่อละครสร้างสรรค์เพื่อเด็กพิการทางการเห็น” จะมีการออกแบบเพื่อให้เด็กพิการทางการเห็นได้ศึกษาและเรียนรู้เรื่องศิลปะละครเวทีผ่านการรับชมจากสัมผัสอื่นๆแทนการมองเห็นทางภาพ เช่น การรับรู้ทางเสียง สัมผัส รสชาติ กลิ่น เป็นต้น นอกเหนือจากการสร้างประสบการณ์ทางด้านละครเวทีที่เน้นรูปแบบการใช้ประสาทสัมผัสแล้ว ประเด็นในการออกแบบการสร้างละครยังได้มุ่งเน้นการสร้างพื้นที่และประสบการณ์ให้เด็กพิการทางการเห็นได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวมากขึ้นอีกด้วยเนื่องจากในชีวิตประจำวันของเด็กพิการทางการเห็นจะมีโอกาสในการเคลื่อนไหวน้อยและไม่มีพื้นที่ที่ปลอดภัยมากพอกับการเล่นหรือการออกกำลังกาย เด็กพิการทางการเห็นไม่สามารถเล่นเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่นได้ เพราะเด็กพิการทางการเห็นเล่นไม่สามารถเล่นอย่างลำพังหรือรู้สึกปลอดภัยมากพอ ดังนั้นการขาดพื้นที่หรือกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกายจึงส่งผลให้เด็กพิการทางการเห็นไม่มีโอกาสได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวอย่างเป็นอิสระ (Kinesthetic Development) หรือการเรียนรู้การฝึกใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวจะส่งผลถึงบุคลิกภาพการนั่งหรือการเดินอีกด้วย
ผู้จัดทําโครงการจึงออกแบบสื่อสร้างสรรค์ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) สื่อการแสดงสดในรูปแบบละครเวทีที่เน้นการมีประสบการณ์ร่วม (Immersive Theatre) และ (2) สื่อละครเสียงและคลิปวิดีโอการเรียนการสอนเพื่อเป็นเครื่องมือให้ครูและผู้ปกครองสามารถนำไปพัฒนาเด็กพิการทางการมองเห็นได้ด้วยตัวเอง โดยในด้านของการออกแบบการแสดงละครที่เน้นให้ผู้ชมมีประสบการณ์ร่วม เนื่องจากเด็กพิการทางการมองเห็นมีความจําเป็นอย่างยิ่งในการเรียนรู้แบบมีประสบการณ์ร่วมเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจและการตีความสภาพแวดล้อมต่าง ๆ รอบตัวได้ง่ายขึ้น ผู้กำกับละครเรื่องนี้จึงออกแบบให้เด็กพิการทางการเห็นมีส่วนร่วมในการแสดง สามารถจินตนาการไปกับการสมมุติบทบาทเป็นตัวละครต่าง ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวและการเรียนรู้ทักษะชีวิต ส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคมเพิ่มมากขึ้น และมีการสรุปองค์ความรู้เป็นคลิปสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบวิดีโอเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครู ผู้ดูแล และผู้ปกครองสามารถนําไปประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการและทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กพิการทางการเห็นที่บ้านหรือที่โรงเรียนได้เอง โดยใช้สื่อละครสร้างสรรค์ในการพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กิจกรรมโครงการนี้จะเปิดโอกาสให้เด็กๆมีประสบการณ์ร่วมกับการแสดง โดยการออกแบบละครจะเน้นให้ ผู้ชม (เด็กพิการทางการเห็น) ได้ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวร่วมไปกับสวมบทบาทเป็นตัวละครหลักของเรื่องเนื้อเรื่อง การมีปฎิสัมพันธ์โดยใช้ทักษะการสมมุตบทบาทเป็นตัวละครลูกเป็ดและผจญภัยไปกับฉากต่างๆในการแสดง ซึ่งนอกเหนือจากการส่งเสริมจินตนาการและความสนุกสนานในกับสื่อสร้างสรรค์ที่ออกแบบเพื่อเด็กพิการทางการเห็นแล้วเด็กๆจะได้ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวอย่างอิสระเช่นเดียวกับการเล่นในสนามเด็กเล่น เพียงแต่กระบวนการออกแบบละครจะช่วยแนะนำและเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กพิการทางการเห็นได้มีโอกาสพัฒนาการเคลื่อนไหวมากขึ้น.

Coffee Shop

ดูผลงานทั้งหมด »

Entertainment

ดูผลงานทั้งหมด »

Sport

ดูผลงานทั้งหมด »

Activity

ดูผลงานทั้งหมด »